November 20, 2024

เปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
1.หลักสูตรไม่ได้กำหนด
– กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
– สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
– คุณลักษณะอันพึงประสงค์
แต่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ในเอกสาร แนวทางการจัดทำหลักสูตสถานศึกษา ให้สถานศึกษากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามบริบทของสถานศึกษา
1.หลักสูตรกำหนด
– วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
– สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
– คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อเป็นภาพรวมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความชัดเจนมากขึ้นสำหรับสถานศึกษาทุกแห่งใช้เป็นกรอบทิศทางในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่หลักสูตรแกนกลางได้กำหนดไว้
2.กำหนดหลักการของหลักสูตร ดังนี้
1.เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล
2.เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาพ และเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพเป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผล การเรียนรู้ และประสบการณ์

2.ปรับปรุงหลักการของหลักสูตร เพื่อให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยปรับจากเดิม 5 ข้อ เป็น 6 ข้อ ดังนี้
1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้และคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล
2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่ตอบสนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับ สภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
5) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
6) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
3.โครงสร้างหลักสูตร
3.1 กำหนดหลักสูตรเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
3.2 กำหนดเวลาเรียนของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นเวลารวมไว้เป็นช่วงกว้างๆ ในแต่ละช่วงชั้น เช่น ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) กำหนดเวลาเรียนทั้ง 8 กลุ่ม ปีละประมาณ 800-1000 ชั่วโมง โดยให้สถานศึกษากำหนดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระเองตามความเหมาะสม
3.โครงสร้างหลักสูตร
3.1 กำหนดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับประถมศึกษา (ป.1-6)
2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)
3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
3.2 กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำของ 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ในแต่ล่ะชั้นปี และ ให้สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตาม ความพร้อมและจุดเน้น เช่น กำหนดเวลาเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป.1 จำนวน 200 ชั่วโมง


4. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ / มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
4.1 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ 76 มาตรฐาน
4.2 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น โดยกำหนดไว้เป็นช่วงๆ ละ 3 ปี ซึ่งเป็นคุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบ ชั้น ป.3 ป.6 ม.3 ม.6 และ ให้สถานศึกษานำไปเป็นกำหนดผล การเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อนใช้เป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระในแต่ละชั้นปีเอง ซึ่งทำให้ขาดเอกภาพ และมีปัญหาในการเทียบโอนผลการเรียนรู้
4.ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และ กำหนดตัวชี้วัดชั้นปี / ช่วงชั้น
4.1 ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ให้มี ความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน โดย ปรับปรุงจาก 76 มาตรฐาน ลดลงเหลือ 67 มาตรฐาน
4.2 กำหนดตัวชีวิดชั้นปีสำหรับ การศึกษาภาคบังคับ (ป.1- ม.3) และ ตัวชี้วัดช่วงชั้นสำหรับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ม. 4-6 ) เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลมีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้เลย ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระของครู
5.กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) กิจกรรมแนะแนว
2) กิจกรรมนักเรียน






5.ปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดย
เพิ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและ สาธารณประโยชน์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนด คือ การมีจิตสาธารณะ อันจะช่วยให้สังคมเกิดสันติสุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขดังนั้น ในหลักสูตรแกนกลางฯ จึงได้กำหนดกิจกรรมผู้เรียน เป็น 3 ลักษณะดังนี้
กิจกรรมแนะแนว
กิจกรรมนักเรียน
กิจกรรมเพื่อนสังคมและสาธารณประโยชน์
6.การวัดและประเมินผล และการจบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรกำหนดให้สถานศึกษากำหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรเอง รวมทั้งจัดทำแนวทางการวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
6.2 การตัดสินผลการเรียน
ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค

6.การวัดและประเมินผล และการจบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดเกณฑ์กลางการจบหลักสูตร การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน การรายงานผลการเรียน และเอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงควบคุม เพื่อให้สถานศึกษาจัดทำแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
6.2 การตัดสินผลการเรียน
ระดับประถมศึกษา ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค