November 20, 2024

สาเหตุของการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560)

หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีความจำเป็นจะต้องปรับเนื่องจากเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยโดยการสร้างรายได้จากนวัตกรรมเป็นหลัก หรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจำเป็นต้องสร้างกำลังคนที่มีความเข้มแข็งในองค์ความรู้ด้าน SMT (Science, Mathematics and Technology) เป็นฐานในการสร้างนวัตกรรม จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องต่อการสร้างกำลังคนเพื่อเป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาล

1. กลุ่มสาระฯ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับหลักสูตรใหม่ มีเพียง 3 กลุ่มสาระ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาฯ ในสาระภูมิศาสตร์ ส่วนกลุ่มสาระฯการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีผลกระทบเล็กน้อยเพราะมีการย้ายสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมาเป็นสาระที่ 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีประกาศยกเลิกสาระที่ 2 และ 3 ของกลุ่มสาระการงานอาชีพฯ อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผมเอง จึงขอตรวจสอบในประเด็นนี้ก่อนอีกครั้ง แล้วจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป

2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยังคงมีรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมเหมือนเดิม แต่ในส่วนของรายวิชาเพิ่มเติม มีการกำหนดผลการเรียนรู้ในหลักสูตร ให้มีความชัดเจนและง่ายสำหรับการนำไปใช้มากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
– ปรับลดเนื้อหา
– ปรับย้ายเนื้อหาระหว่างชั้น
– เพิ่มเนื้อหาใหม่
– แบ่งรายวิชาออกเป็น

*คณิตศาสตร์พื้นฐาน ที่กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สำหรับผู้เรียน ชั้น ป.1-ม.3 และ ม.4-6 แผนการเรียนอื่นๆ จำนวน 3 สาระการเรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต

สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น

*คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ที่กำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กำหนดผลการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ในสาระที่ 1-3 และผลการเรียนรู้ในสาระแคลคูลัส สำหรับผู้เรียนชั้น ม.4-6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์

2.2 กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
– ปรับลดเนื้อหา
– ปรับย้ายเนื้อหาระหว่างชั้น
– เพิ่มเนื้อหาใหม่
– แบ่งรายวิชาออกเป็น

*วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สำหรับผู้เรียนชั้น ป.1-ม.3 และ ม.4-6 แผนการเรียนอื่นๆ จำนวน 4 สาระการเรียนรู้

สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
สาระที่ 4 เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย
– การออกแบบและเทคโนโลยี
– วิทยาการคำนวณ

*วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ที่กำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม และกำหนดผลการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนชั้น ม.4-6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 สาระการเรียนรู้
สาระชีววิทยา
สาระเคมี
สาระฟิสิกส์
สาระโลก ดาราศาสตร์ อวกาศ

ทั้งนี้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติมและวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมอื่นๆ ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถเปิดสอนได้ตาม ความพร้อมและจุดเน้นของโรงเรียน ตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน โดยโรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ

2.3 กลุ่มสาระฯสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

– ปรับสาระภูมิศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญกับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-Literacy) ซึ่งเน้น ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์และกระบวนการทางภูมิศาสตร์

– มีการตัดเนื้อหา เพิ่มเนื้อหา เปลี่ยนคำและข้อความบางส่วน

3. การจัดรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรและการปรับหลักสูตรสถานศึกษา ยังคงมีรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมเหมือนเดิม แต่ต้องมีการเปิดรายวิชาใหม่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีการย้ายสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมาเป็นสาระที่ 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐาน ว 4.1 การออกแบบและเทคโนโลยี และ มาตรฐาน ว 4.2 วิทยาการคำนวณ โดยเฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์เดิม ที่จะต้องเปลี่ยนรหัสวิชาจาก “ง” มาเป็น “ว” (นี่ผมยังคิดว่า ถ้าเอาตามหลักสูตรใหม่แบบเดิมก่อนเปลี่ยนแปลงที่กำหนดให้ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและโลก ดาราศาสตร์อวกาศเป็นรายวิชาพื้นฐาน โรงเรียนคงวุ่นวายกับการกำหนดรหัสวิชาใหม่อย่างแน่นอน การที่ สพฐ. กลับลำให้เป็นรายวิชาเพิ่มเติมเหมือนเดิม โดยส่วนตัวผมคิดว่าทำให้ง่ายสำหรับโรงเรียนมากขึ้น) 4. การจัดครูผู้สอน กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์ กับ สังคมศึกษาฯ คงมีผลกระทบไม่มากนัก หลักๆคงเป็นกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ที่จะต้องนำครูเทคโนโลยี/ครูคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมอยู่กับกลุ่มสาระฯการงานอาชีพ มารวมกับกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ จึงอาจส่งผลให้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีจำนวนครูผู้สอนเพิ่มขึ้น มีจำนวนรายวิชาที่เปิดสอนและจำนวนคาบสอนเพิ่มขึ้น อาจกระทบกับอัตรากำลัง ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องวางแผนในระยะยาว นอกจากนี้อาจประสบปัญหาต้องเปิดรายวิชาใหม่ตามมาตรฐาน ว 4.1 การออกแบบและเทคโนโลยี ที่เป็นลักษณะของการจัดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ซึ่งอาจหาครูผู้สอนในวิชานี้ได้ยาก (เกี่ยงกันระหว่างครูวิทย์กับครูคอม) เพราะครูผู้สอนวิชานี้ต้องเข้าใจ Concept ของ STEM Education พอสมควร ส่วนประเด็นเรื่องที่นั่งของครูว่าครูคอม ต้องย้ายมานั่งห้องพักครูวิทย์ไหม อันนี้คงแล้วแต่ความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา จะนั่งตามที่เดิมก็ไม่ได้มีผลอะไรสิ่งสำคัญหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการสอน